การบิน
ผึ้งมีเส้นประสาทรับความรู้สึก และรับสัมผัสที่เชื่อมกับขนบริเวณลำตัวสำหรับรับสัมผัสกับแรงลม และกลิ่นของอาหาร รวมถึงรับรู้แรงดึงดูดของโลก ทำให้ทราบความสูงต่ำขณะบินได้ ผึ้งมีลักษณะการบินในทิศทางทวนลม
การหาอาหาร
ผึ้งจะออกหาอาหารในช่วงเช้าหลังพระอาทิตย์ขึ้น สำหรับการสร้างรังใหม่ ผึ้งจะออกสำรวจแหล่งอาหาร และระยะทางก่อน แล้วค่อยสื่อสารให้กับผึ้งตัวอื่น การสื่อสารจะสื่อผ่านการเต้นรำแบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- Round dance เป็นการเต้นแบบวงกลม ด้วยการบินวนขวาก่อน แล้วจึงหมุนบินทางซ้ายมือ และทำซ้ำๆ อย่างรวดเร็ว เป็นสื่อสารบอกแหล่งอาหารใหม่ โดยทั่วไปมีระยะทางไม่เกิน 100 เมตร
- Tail-Wagging dance มีลักษณะบินตรงไปข้างหน้าในระยะสั้นๆ พร้อมกับขยับส่วนท้องไปมาอย่างรวดเร็ว แล้วบินหมุนเป็นวงกลม ก่อนบินไปข้างหน้าอีกครั้ง จากนั้นจะบินเป็นวงเหมือนกับครั้งแรก แต่ในทิศตรงกันข้ามกัน แล้วค่อยบินตรงไปข้างหน้าอีกครั้ง แบ่งลักษณะการบอกทิศอาหารได้ คือ
– การบินขึ้นตามรังผึ้ง แสดงว่า แหล่งอาหารอยู่ในทิศเดียวกับดวงอาทิตย์
– การบินลงตามรังผึ้ง แสดงว่า อาหารอยู่ในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
– การบินไปมาในทิศทางไม่แน่นอนเป็นมุมองศาต่างๆ แสดงแหล่งอาหารอาหารอิงกับดวงอาทิตย์ตามองศาการบิน เช่น บินทำมุม 30 องศา ทางขวาในแนวดิ่งของรัง แสดงว่า แหล่งอาหารอยู่ทางขวาของดวงอาทิตย์ ทำมุม 30 องศา
– การบินส่ายส่วนท้องใช้บอกระยะทางใกล้ เช่น บินส่าย และขยับท้องไปมา อย่างรวดเร็ว ที่ 120 องศา กับดวงอาทิตย์
– การบินส่ายส่วนท้องใช้บอกระยะทางไกล เช่น บินส่าย และขยับท้องไปมา ที่ 60 องศา กับดวงอาทิตย์
ผึ้งสามารถรับรู้ความสูงต่ำของต้นพืชจากระดับการบิน และจำแนกอายุของดอกไม้ได้ การเคลื่อนย้ายของผึ้งจากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทิศทางที่เป็นเส้นตรงเพื่อที่จะไม่ลงดอกเดิมซ้ำอีก
การเก็บน้ำหวานของผึ้งในแต่ละเที่ยวจะเลือกเก็บจากพืชเพียงชนิดเดียว จากการสังเกต พบว่า ผึ้งจะลงเก็บน้ำหวานสองครั้งจากดอกไม้ดอกเดียว แต่มักพบว่าก้อนเกสรที่ผึ้งเก็บมานั้นจะมีเกสรของพืชหลายชนิดปนอยู่ แต่จะมีพืชอาหารหลักชนิดใดชนิดหนึ่งมากทีสุด และมีเกสรจากพืชอื่นเพียง 2-4 ชนิดเท่านั้นที่ปะปนมา ผึ้งพันธุ์สามารถลงดอกได้มากกว่า 40 ดอกใน 1นาที ผึ้งหนึ่งตัวสามารถออกหาอาหารได้มากถึง 4 ล้านเที่ยว โดยเฉลี่ยแล้วสามารถลงดอกได้ 100 ดอก ด้วยการใช้ proboscis แทงเข้าไปในต่อมน้ำหวานของดอกไม้ ดูดน้ำหวานมาเก็บไว้ใน nectar sac ปริมาณเฉลี่ยของน้ำหวานที่ผึ้งเก็บไว้ในแต่ละเที่ยว ประมาณ 20-40 mg หรือประมาณ 90% ของน้ำหนักตัวผึ้ง
การเก็บเกสรผึ้งจะใช้ tongue และ mandibles เจาะ และกัดอับละอองเกสร ให้เกสรกระจายออกมาติดตามขน จากนั้นจะใช้ขาคู่กลาง และขาคู่หน้ารวมเกสรผสมกับน้ำหวานสำหรับปั้นให้เป็นก้อน ก่อนที่จะนำไปเก็บไว้ที่ curbicula ของขาคู่หลัง ก้อนเกสรที่เก็บจะมีน้ำหวานประมาณ 10% น้ำหนักก้อนเกสร ประมาณ 8-29 mg ประมาณการได้ว่าก้อนเกสรน้ำหนัก 20 กิโลกรัม จะมีก้อนเกสรประมาณ 2 ล้านก้อน ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงต่อการเลี้ยงประชากรผึ้ง 1 รัง จำนวนครั้งในการบินออกหาอาหารของผึ้งพันธุ์ 5-10 ครั้งต่อวัน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความต้องการอาหารของรังผึ้ง
ความเร็วในการบินของผึ้งที่น้ำหวานอยู่เต็มกระเพาะ และเกสรอยู่เต็มตะกร้าเกสร ประมาณ 25 กม./ชั่วโมง ผึ้งที่บินออกจากรังมีความเร็วในการบิน 20 กม./ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของผึ้งในเส้นทางการบินไปยังแหล่งอาหาร ผึ้งจะหยุดบินเมื่อมีความเร็วลม 40 กม./ชั่วโมง
ผึ้งจะเลือกแหล่งอาหารที่อยู่บริเวณใกล้รังในรัศมี 3 กิโลเมตร แต่หากไม่มีแหล่งอาหารที่เหมาะสม ผึ้งสามารถบินไปหาแหล่งอาหารได้ไกลถึง 12 กิโลเมตร ผึ้งงานในระยะแรกจะฝึกบินในระยะ ไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากรังผึ้ง และพื้นที่ของการหาอาหารของผึ้งนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับ ปริมาณและความหนาแน่นของดอกพืช ปริมาณเกสร และน้ำหวาน