ชี วิ ต ม หั ศ จ ร ร ย์ ข อ ง ผึ้ ง ชี วิ ต ม หั ศ จ ร ร ย์ ข อ ง ผึ้ ง

ผึ้งหลวง เป็นผึ้งที่มีขนาดตัวโตมาก ชอบทำรังอยู่บนต้นไม้สูง เช่น ต้นยาง ต้นตะเคียน หรือหากไม่ทำรังบนต้นไม้ ก็จะทำรังบนหน้าผาสูง ผึ้งหลวงจะดุร้าย ผู้ใดที่ถูกผึ้งหลวงต่อยอาจเป็นไข้หรือเสียชีวิตได้ ผึ้งหลวงบินไปได้ไกล หากินเก่ง จึงผลิตน้ำผึ้งได้มาก น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งหลวงยอมรับกันว่าเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูง รสเข้มข้น

ผึ้งโพรงหรือผึ้งรวง เป็นผึ้งขนาดกลาง ชอบทำรังอยู่ในโพรงไม้หรือในโพรงหิน

ผึ้งมิ้ม เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็ก (เท่าแมลงวัน) ไม่ดุร้าย ชอบทำรังตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ผึ้งชนิดนี้มีมากในภาคกลาง น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งมิ้มจะใสและมีรสหวานแหลม

ผึ้งพันธุ์หรือผึ้งเลี้ยง เมื่อความต้องการในการบริโภคน้ำผึ้งมีมากขึ้น น้ำผึ้งจากผึ้งป่าตามธรรมชาติจึงมีจำนวนลดน้อยลง ต่อมาได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งอย่างจริงจังทางภาคเหนือ เพราะมีแหล่งเกษตรกรรมที่เหมาะสม แต่ผึ้งหลวงและผึ้งมิ้มมีธรรมชาติเป็นผึ้งป่า ไม่เหมาะกับการนำมาเพาะเลี้ยง ส่วนผึ้งโพรงแม้จะสามารถเลี้ยงได้ แต่ก็ไม่ดีเท่าผึ้งพันธุ์ จึงมีการนำผึ้งพันธุ์มาจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากผึ้งพันธุ์มีลักษณะดีหลายประการ คือ ตัวใหญ่ แข็งแรง ขยัน มีความสามารถในการบินไปหา อาหารได้ดีกว่าผึ้งไทย มีจำนวนประชากรในรังมากกว่า ลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย ดูแลและเลี้ยงง่าย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผึ้งป่าหรือ ผึ้งเลี้ยง มักมีแบบแผนพฤติกรรมพื้นฐานเหมือนๆ กันคือ เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผึ้งเป็นสัตว์โลกตัวเล็กๆ ที่มีวงจรชีวิตแสนจะน่าทึ่ง มีการแบ่งงานและจัดระเบียบในสังคมอย่างน่าสนใจ นั่นคือรู้จักหน้าที่ มีความขยันขันแข็ง กล้าหาญ กล้าต่อสู้ปกป้องรวงรังจนตัวตาย
ในสังคมผึ้ง จะแบ่งผึ้งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่

๑. ผึ้งนางพญา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในรังที่มีอำนาจสูงสุด ปกครองประชากรนับแสนตัว มีหน้าที่สำคัญคือ ดูแลประชากรผึ้ง และวางไข่

๒. ผึ้งตัวผู้ เป็นผึ้งที่ไร้พิษสงเพราะไม่มีเหล็กใน มีอายุเฉลี่ยประมาณ ๑-๒ เดือน หน้าที่หลักคือ ผสมพันธุ์กับนางพญาผึ้ง เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

๓. ผึ้งงาน คือผึ้งตัวเมียที่ไม่ได้เจริญเป็นนางพญา ผึ้งงานเป็นประชากรหมู่มากในรัง มีหน้าที่ทำงานทุกชนิดในรัง เช่น ดูแลรังผึ้ง เป็นภารโรง เป็นสถาปนิกต่อเติมรัง หาอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อน เป็นต้น มันทำทุกอย่างรวมทั้งการเป็นทหารป้องกันการบุกรุกจากศัตรู ผึ้งงานมีอายุเฉลี่ยประมาณ ๒-๓ เดือน

ก ว่ า จ ะ ม า เ ป็ น นํ้ า ผึ้ ง
น้ำผึ้งเป็นผลิตผลจากน้ำหวานที่ผึ้งงานดูดมาจากดอกไม้ และจากแหล่งน้ำหวานอื่นๆ เช่น น้ำหวานที่ผลิตออกมาโดยแมลงจำพวกเพลี้ย การหาน้ำหวานดูจะเป็นงานหนักที่สุดของผึ้งงาน เพราะผึ้งอาจต้องบินไกลเป็นกิโลเมตรกว่าจะพบดอกไม้แหล่งน้ำหวาน ประมาณกันว่าผึ้งต้องบินหาน้ำหวาน ๒๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ เที่ยว กว่าจะได้น้ำหวานกลับรังสัก ๑ ลิตร เมื่อพบแหล่งอาหาร ผึ้งจะดูดน้ำหวานที่มีอยู่ตามโคนกลีบดอกไม้แล้วเก็บไว้ในกระเพาะ (น้ำหวานเมื่อผสมกับน้ำย่อยหรือเอนไซม์ในตัวของผึ้ง ก็จะแปรสภาพเป็นน้ำผึ้ง) และกวาดเรณูเกสรมาเก็บในตะกร้าที่ขาทั้งสอง จากนั้นมันจะบินกลับรังโดยใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุด ในระหว่างที่ผึ้งบินกลับรัง ความร้อนในตัวผึ้งที่เกิดจากการกระพือปีกขณะบิน (๑๑,๔๐๐ ครั้งต่อนาที) จะทำให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยไป ปริมาณความชื้นลดลง ทำให้น้ำผึ้งมีความข้น

เมื่อถึงรังผึ้งก็จะคายน้ำหวานแปรรูปนี้แบบปากต่อปาก ให้กับผึ้งงานประจำรังรับไปเก็บในหลอดรวงน้ำผึ้ง ถ้าหากขณะบินกลับรัง ผึ้งยังแปรสภาพน้ำหวานเป็นน้ำผึ้งยังไม่ได้ที่ ผึ้งงานที่รับช่วงน้ำหวานมาก็จะทำหน้าที่ย่อยต่อ หากความชื้นยังสูงเกิน เหล่าผึ้งงานก็จะช่วยกันกระพือปีกเพื่อระบายอากาศและขับไล่ความชื้น จนกว่าจะได้น้ำผึ้งตามที่ต้องการ แล้วนำไปเก็บในหลอดรวงน้ำผึ้ง โดยใช้ไขผึ้งปิดปากรวงแล้วเก็บน้ำผึ้งไว้ใช้เป็นอาหารของพวกมัน

การเก็บรังผึ้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่มักใช้คบไฟไล่ตัวผึ้งออกไปแล้วนำรังผึ้งมาคั้น ซึ่งก็จะได้น้ำผึ้ง รวมถึงตัวผึ้งอ่อน และเกสรดอกไม้ปนมาด้วย แต่น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งที่เลี้ยงไว้ จะมีกรรมวิธีการแยกตัวอ่อนออกไปก่อน ทำให้น้ำผึ้งสะอาดและเก็บได้นานกว่าวิธีดั้งเดิม น้ำผึ้งที่ดีจะต้องเป็นน้ำผึ้งที่ผ่านกรรมวิธีการเก็บจากรังอย่างถูกต้อง ผ่านกระบวนการเก็บที่สะอาด ปราศจากกากและสิ่งเจือปนต่างๆ มีสีเข้มและข้น อย่างไรก็ตาม สีของน้ำผึ้งจะมีระดับแตกต่างกันระหว่างสีเหลืองอ่อน น้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลไหม้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ที่ผึ้งไปดูดความหวานมา เช่น น้ำผึ้งที่ได้จากดอกลำไยจะมีสีเข้มกว่าน้ำผึ้งที่ได้จากดอกลิ้นจี่ ดอกเงาะ และดอกทุเรียน ซึ่งน้ำหวานที่ได้จากดอกไม้แต่ละชนิดนี้จะมีสี มีกลิ่น และรสชาติแตกต่างกันไป รวมถึงองค์ประกอบและโครงสร้างของน้ำตาลก็จะแตกต่างกันด้วย น้ำผึ้งที่ได้จากน้ำหวานและเกสรดอกไม้บางชนิด เมื่อเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่ง น้ำตาลกลูโคสจะตกผลึกได้

ผึ้งหลวง เป็นผึ้งที่มีขนาดตัวโตมาก ชอบทำรังอยู่บนต้นไม้สูง เช่น ต้นยาง ต้นตะเคียน หรือหากไม่ทำรังบนต้นไม้ ก็จะทำรังบนหน้าผาสูง ผึ้งหลวงจะดุร้าย ผู้ใดที่ถูกผึ้งหลวงต่อยอาจเป็นไข้หรือเสียชีวิตได้ ผึ้งหลวงบินไปได้ไกล หากินเก่ง จึงผลิตน้ำผึ้งได้มาก น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งหลวงยอมรับกันว่าเป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพสูง รสเข้มข้น

ผึ้งโพรงหรือผึ้งรวง เป็นผึ้งขนาดกลาง ชอบทำรังอยู่ในโพรงไม้หรือในโพรงหิน

ผึ้งมิ้ม เป็นผึ้งที่มีขนาดเล็ก (เท่าแมลงวัน) ไม่ดุร้าย ชอบทำรังตามพุ่มไม้เตี้ยๆ ผึ้งชนิดนี้มีมากในภาคกลาง น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งมิ้มจะใสและมีรสหวานแหลม

ผึ้งพันธุ์หรือผึ้งเลี้ยง เมื่อความต้องการในการบริโภคน้ำผึ้งมีมากขึ้น น้ำผึ้งจากผึ้งป่าตามธรรมชาติจึงมีจำนวนลดน้อยลง ต่อมาได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งอย่างจริงจังทางภาคเหนือ เพราะมีแหล่งเกษตรกรรมที่เหมาะสม แต่ผึ้งหลวงและผึ้งมิ้มมีธรรมชาติเป็นผึ้งป่า ไม่เหมาะกับการนำมาเพาะเลี้ยง ส่วนผึ้งโพรงแม้จะสามารถเลี้ยงได้ แต่ก็ไม่ดีเท่าผึ้งพันธุ์ จึงมีการนำผึ้งพันธุ์มาจากหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากผึ้งพันธุ์มีลักษณะดีหลายประการ คือ ตัวใหญ่ แข็งแรง ขยัน มีความสามารถในการบินไปหา อาหารได้ดีกว่าผึ้งไทย มีจำนวนประชากรในรังมากกว่า ลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย ดูแลและเลี้ยงง่าย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นผึ้งป่าหรือ ผึ้งเลี้ยง มักมีแบบแผนพฤติกรรมพื้นฐานเหมือนๆ กันคือ เป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ผึ้งเป็นสัตว์โลกตัวเล็กๆ ที่มีวงจรชีวิตแสนจะน่าทึ่ง มีการแบ่งงานและจัดระเบียบในสังคมอย่างน่าสนใจ นั่นคือรู้จักหน้าที่ มีความขยันขันแข็ง กล้าหาญ กล้าต่อสู้ปกป้องรวงรังจนตัวตาย
ในสังคมผึ้ง จะแบ่งผึ้งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่

๑. ผึ้งนางพญา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวในรังที่มีอำนาจสูงสุด ปกครองประชากรนับแสนตัว มีหน้าที่สำคัญคือ ดูแลประชากรผึ้ง และวางไข่

๒. ผึ้งตัวผู้ เป็นผึ้งที่ไร้พิษสงเพราะไม่มีเหล็กใน มีอายุเฉลี่ยประมาณ ๑-๒ เดือน หน้าที่หลักคือ ผสมพันธุ์กับนางพญาผึ้ง เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ ผึ้งตัวผู้จะตายทันที

๓. ผึ้งงาน คือผึ้งตัวเมียที่ไม่ได้เจริญเป็นนางพญา ผึ้งงานเป็นประชากรหมู่มากในรัง มีหน้าที่ทำงานทุกชนิดในรัง เช่น ดูแลรังผึ้ง เป็นภารโรง เป็นสถาปนิกต่อเติมรัง หาอาหารมาเลี้ยงตัวอ่อน เป็นต้น มันทำทุกอย่างรวมทั้งการเป็นทหารป้องกันการบุกรุกจากศัตรู ผึ้งงานมีอายุเฉลี่ยประมาณ ๒-๓ เดือน

ก ว่ า จ ะ ม า เ ป็ น นํ้ า ผึ้ ง
น้ำผึ้งเป็นผลิตผลจากน้ำหวานที่ผึ้งงานดูดมาจากดอกไม้ และจากแหล่งน้ำหวานอื่นๆ เช่น น้ำหวานที่ผลิตออกมาโดยแมลงจำพวกเพลี้ย การหาน้ำหวานดูจะเป็นงานหนักที่สุดของผึ้งงาน เพราะผึ้งอาจต้องบินไกลเป็นกิโลเมตรกว่าจะพบดอกไม้แหล่งน้ำหวาน ประมาณกันว่าผึ้งต้องบินหาน้ำหวาน ๒๐,๐๐๐ ถึง ๑๐๐,๐๐๐ เที่ยว กว่าจะได้น้ำหวานกลับรังสัก ๑ ลิตร เมื่อพบแหล่งอาหาร ผึ้งจะดูดน้ำหวานที่มีอยู่ตามโคนกลีบดอกไม้แล้วเก็บไว้ในกระเพาะ (น้ำหวานเมื่อผสมกับน้ำย่อยหรือเอนไซม์ในตัวของผึ้ง ก็จะแปรสภาพเป็นน้ำผึ้ง) และกวาดเรณูเกสรมาเก็บในตะกร้าที่ขาทั้งสอง จากนั้นมันจะบินกลับรังโดยใช้เส้นทางที่ใกล้ที่สุด ในระหว่างที่ผึ้งบินกลับรัง ความร้อนในตัวผึ้งที่เกิดจากการกระพือปีกขณะบิน (๑๑,๔๐๐ ครั้งต่อนาที) จะทำให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยไป ปริมาณความชื้นลดลง ทำให้น้ำผึ้งมีความข้น

เมื่อถึงรังผึ้งก็จะคายน้ำหวานแปรรูปนี้แบบปากต่อปาก ให้กับผึ้งงานประจำรังรับไปเก็บในหลอดรวงน้ำผึ้ง ถ้าหากขณะบินกลับรัง ผึ้งยังแปรสภาพน้ำหวานเป็นน้ำผึ้งยังไม่ได้ที่ ผึ้งงานที่รับช่วงน้ำหวานมาก็จะทำหน้าที่ย่อยต่อ หากความชื้นยังสูงเกิน เหล่าผึ้งงานก็จะช่วยกันกระพือปีกเพื่อระบายอากาศและขับไล่ความชื้น จนกว่าจะได้น้ำผึ้งตามที่ต้องการ แล้วนำไปเก็บในหลอดรวงน้ำผึ้ง โดยใช้ไขผึ้งปิดปากรวงแล้วเก็บน้ำผึ้งไว้ใช้เป็นอาหารของพวกมัน

การเก็บรังผึ้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่มักใช้คบไฟไล่ตัวผึ้งออกไปแล้วนำรังผึ้งมาคั้น ซึ่งก็จะได้น้ำผึ้ง รวมถึงตัวผึ้งอ่อน และเกสรดอกไม้ปนมาด้วย แต่น้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งที่เลี้ยงไว้ จะมีกรรมวิธีการแยกตัวอ่อนออกไปก่อน ทำให้น้ำผึ้งสะอาดและเก็บได้นานกว่าวิธีดั้งเดิม น้ำผึ้งที่ดีจะต้องเป็นน้ำผึ้งที่ผ่านกรรมวิธีการเก็บจากรังอย่างถูกต้อง ผ่านกระบวนการเก็บที่สะอาด ปราศจากกากและสิ่งเจือปนต่างๆ มีสีเข้มและข้น อย่างไรก็ตาม สีของน้ำผึ้งจะมีระดับแตกต่างกันระหว่างสีเหลืองอ่อน น้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลไหม้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเกสรดอกไม้ที่ผึ้งไปดูดความหวานมา เช่น น้ำผึ้งที่ได้จากดอกลำไยจะมีสีเข้มกว่าน้ำผึ้งที่ได้จากดอกลิ้นจี่ ดอกเงาะ และดอกทุเรียน ซึ่งน้ำหวานที่ได้จากดอกไม้แต่ละชนิดนี้จะมีสี มีกลิ่น และรสชาติแตกต่างกันไป รวมถึงองค์ประกอบและโครงสร้างของน้ำตาลก็จะแตกต่างกันด้วย น้ำผึ้งที่ได้จากน้ำหวานและเกสรดอกไม้บางชนิด เมื่อเก็บไว้ระยะเวลาหนึ่ง น้ำตาลกลูโคสจะตกผลึกได้