สารอาหารในน้ำผึ้ง สารอาหารในน้ำผึ้ง

วิตามินในน้ำผึ้งมีวิตามินหลายชนิด ซึ่งปริมาณวิตามินในน้ำผึ้งแท้แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่มาของเกสรน้ำผึ้งหรือเกสรดอกไม้นั่นเอง

เกลือแร่ การเติมน้ำผึ้งแทนน้ำตาลลงในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความหวานที่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นให้กับร่างกายด้วย ปริมาณเกลือแร่เหล่านี้แม้จะมีไม่มากนัก แต่ก็อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ

น้ำตาล ส่วนประกอบประมาณร้อยละ ๘๐-๘๕ ของน้ำผึ้งจะเป็นน้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (คือกลูโคส และฟรักโทส) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เด่นที่สุดของน้ำผึ้ง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำผึ้งมีรสหวาน ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้น้ำตาลกลุ่มนี้สร้างพลังงานให้กับร่างกาย น้ำตาลโมเลกุลคู่ (คือ มอลโทส ซูโครส และแล็กโทส) และน้ำตาลที่มีโมเลกุลซับซ้อน (เช่น เดกซ์โทรส) น้ำตาลเหล่านี้ทำให้น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางกายภาพหลายอย่าง เช่น ดูดซึมความชื้นจากบรรยากาศได้ หรือสามารถดูดซึมน้ำออกมาจากจุลินทรีย์จนหมด ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้ความเข้มข้นของน้ำผึ้ง

น้ำตาลทั้งหมดข้างต้น เป็นน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมขององค์ประกอบโดยธรรมชาติ แต่ถ้านำน้ำหวานหรือน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลสังเคราะห์อื่นๆ ไปละลายให้ผึ้งกิน จะไม่นับว่าเป็นส่วนของน้ำผึ้งโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีข้อกำหนดว่า ในน้ำผึ้งแท้บริสุทธิ์จะมีน้ำตาลซูโครสได้ไม่เกินร้อยละ ๕-๘ โดยน้ำหนัก หากน้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่านี้ ถือว่าเป็นน้ำผึ้งผสมน้ำเชื่อม ไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธิ์จากธรรมชาติ

กรด ถึงแม้น้ำผึ้งจะมีรสหวานนำ แต่ก็ซ่อนความเปรี้ยวของกรดต่างๆ เอาไว้หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือ กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคส รวมทั้งกรดอะมิโนที่สำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ ไอโซลูซีน ลูซีน ไลซีน โพรลีน เมไทโอนีน เป็นต้น

เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ภายในเซลล์นั้นๆ เช่น เอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดที่พบในน้ำผึ้ง คือ เอนไซม์อินเวอร์เทส ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำหวานของดอกไม้ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส และเอนไซม์กลูโคออกซิเดส จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็น กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ น้ำตาลกลูโคส นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ อื่นๆ ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเชื้อโรคได้

เดกซ์โทรส คือสารประกอบที่มีโมเลกุลของกลูโคสต่อกันเป็นโซ่ยาว สารตัวนี้เป็นส่วนที่ทำให้ชุ่มคอ และให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุผิวต่างๆ

อินฮิบิน คือ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค การที่คนโบราณใช้น้ำผึ้งรักษาแผลสดและแก้อักเสบได้ผล ก็เพราะสารสำคัญตัวนี้นี่เอง

นอกจากวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ แล้ว น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น สารฟลาโวนอยด์ คาทาเลส อัลคาลอยด์) และสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาทดลอง เพราะเชื่อว่าสารเหล่านี้มีส่วนในการกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น ช่วยในการเจริญเติบโตของยีน เร่งน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยเสริมสุขภาพทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วย เป็นต้น

วิตามินในน้ำผึ้งมีวิตามินหลายชนิด ซึ่งปริมาณวิตามินในน้ำผึ้งแท้แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับที่มาของเกสรน้ำผึ้งหรือเกสรดอกไม้นั่นเอง

เกลือแร่ การเติมน้ำผึ้งแทนน้ำตาลลงในอาหารชนิดต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความหวานที่มีกลิ่นหอมแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณเกลือแร่ที่จำเป็นให้กับร่างกายด้วย ปริมาณเกลือแร่เหล่านี้แม้จะมีไม่มากนัก แต่ก็อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับที่ร่างกายต้องการ

น้ำตาล ส่วนประกอบประมาณร้อยละ ๘๐-๘๕ ของน้ำผึ้งจะเป็นน้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (คือกลูโคส และฟรักโทส) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่เด่นที่สุดของน้ำผึ้ง เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้น้ำผึ้งมีรสหวาน ซึ่งสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้น้ำตาลกลุ่มนี้สร้างพลังงานให้กับร่างกาย น้ำตาลโมเลกุลคู่ (คือ มอลโทส ซูโครส และแล็กโทส) และน้ำตาลที่มีโมเลกุลซับซ้อน (เช่น เดกซ์โทรส) น้ำตาลเหล่านี้ทำให้น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางกายภาพหลายอย่าง เช่น ดูดซึมความชื้นจากบรรยากาศได้ หรือสามารถดูดซึมน้ำออกมาจากจุลินทรีย์จนหมด ทำให้เชื้อโรคต่างๆ ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ภายใต้ความเข้มข้นของน้ำผึ้ง

น้ำตาลทั้งหมดข้างต้น เป็นน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมขององค์ประกอบโดยธรรมชาติ แต่ถ้านำน้ำหวานหรือน้ำเชื่อมจากน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลสังเคราะห์อื่นๆ ไปละลายให้ผึ้งกิน จะไม่นับว่าเป็นส่วนของน้ำผึ้งโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงมีข้อกำหนดว่า ในน้ำผึ้งแท้บริสุทธิ์จะมีน้ำตาลซูโครสได้ไม่เกินร้อยละ ๕-๘ โดยน้ำหนัก หากน้ำผึ้งมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่านี้ ถือว่าเป็นน้ำผึ้งผสมน้ำเชื่อม ไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธิ์จากธรรมชาติ

กรด ถึงแม้น้ำผึ้งจะมีรสหวานนำ แต่ก็ซ่อนความเปรี้ยวของกรดต่างๆ เอาไว้หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือ กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำตาลกลูโคส รวมทั้งกรดอะมิโนที่สำคัญกลุ่มนี้ได้แก่ ไอโซลูซีน ลูซีน ไลซีน โพรลีน เมไทโอนีน เป็นต้น

เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ประเภทโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาต่างๆ ภายในเซลล์นั้นๆ เช่น เอนไซม์ที่ช่วยย่อยอาหาร เอนไซม์ที่สำคัญที่สุดที่พบในน้ำผึ้ง คือ เอนไซม์อินเวอร์เทส ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลซูโครสในน้ำหวานของดอกไม้ ให้เป็นน้ำตาลกลูโคสและฟรักโทส และเอนไซม์กลูโคออกซิเดส จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็น กรดกลูโคนิก ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ น้ำตาลกลูโคส นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ อื่นๆ ที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายเชื้อโรคได้

เดกซ์โทรส คือสารประกอบที่มีโมเลกุลของกลูโคสต่อกันเป็นโซ่ยาว สารตัวนี้เป็นส่วนที่ทำให้ชุ่มคอ และให้ความชุ่มชื้นแก่เยื่อบุผิวต่างๆ

อินฮิบิน คือ ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค การที่คนโบราณใช้น้ำผึ้งรักษาแผลสดและแก้อักเสบได้ผล ก็เพราะสารสำคัญตัวนี้นี่เอง

นอกจากวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ แล้ว น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ (เช่น สารฟลาโวนอยด์ คาทาเลส อัลคาลอยด์) และสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาทดลอง เพราะเชื่อว่าสารเหล่านี้มีส่วนในการกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวภาพ เช่น ช่วยในการเจริญเติบโตของยีน เร่งน้ำย่อย ช่วยให้เจริญอาหาร และช่วยเสริมสุขภาพทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วย เป็นต้น